1.ฟอกสีฟันในคลินิก (In office whitening)
การฟอกฟันขาวในคลินิกทันตกรรมโดยการใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นสูง
ข้อดีคือ สีของฟันจะขาวขึ้นอย่างรวดเร็วทันใจ ใช้เวลาประมาณ45-60 นาที
กระตุ้นน้ำยาให้ทำงานด้วยแสงต่างๆ
เช่น แสงเลเซอร์ (Laser) ยี่ห้อที่นิยมในไทย เช่น Zoom.
แสงเย็น(Cool light) ยี่ห้อที่นิยมในไทย เช่น Pola ,Opalescence เป็นต้น
การฟอกสีฟันในคลินิกจะต้องทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น
เนื่องจากน้ำยาที่มีความเข้มข้นสูง คุณหมอจะปกป้องอวัยวะเหล่านี้ด้วยการใส่อุปกรณ์และน้ำยาชนิดพิเศษ
2.การฟอกสีฟันที่บ้าน (Home whitening)
วิธีนี้ คุณหมอจะพิมพ์ปากเพื่อทำถาดฟอกสีเฉพาะบุคคล
และเตรียมน้ำยาซึ่งมีความเข้มข้นต่ำกว่าแบบที่ใช้ในคลินิกไปให้คุณฟอกเองที่บ้าน
คุณจะต้องใส่ถาดฟอกสีฟันที่มีน้ำยาเอาไว้ตอนนอน
และถอดออกเพื่อทำความสะอาดในตอนเช้า
ส่วนใหญ่ต้องทำต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ถึงจะเห็นผล
โดยทันตแพทย์ อาจแนะนำให้ ร่วมการฟอกสีฟันที่คลินิก และฟอก เองที่บ้าน
กรณีที่เฉดสีฟันเริ่มต้นเหลืองหรือเข้มมากๆ
3.การฟอกสีฟันเฉพาะซี่ ฟันที่ตายแล้ว (Non vital tooth whitening )
ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน อาจมีสีคล้ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสีของฟันซี่ข้างเคียง
จะทำให้สังเกตได้ง่าย มีผลต่อรอยยิ้มของคนไข้เป็นอย่างมาก
การฟอกสีฟันเฉพาะซี่ หรือ Internal Bleaching เป็นการฟอกสีฟันจากด้านในโดย
คุณหมอจะกรอเปิดช่องว่างที่ตัวฟัน เพื่อใส่สารฟอกสีเข้าไปที่ด้านใน
และอุดปิดช่องว่างฟันแบบชั่วคราว จากนั้นคุณหมอจะนัดติดตามผลทุก 1-2 อาทิตย์
และสามารถฟอกเพิ่มได้อีกหากยังไม่ได้เฉดความขาวที่ต้องการ
การฟอกสีฟันเฉพาะซี่ สามารถทำให้ฟันขาวขึ้นได้ถึงระดับหนึ่ง
หากเฉดของสีฟันยังคล้ำกว่าฟันซี่ข้างเคียง
คุณหมออาจแนะนำให้ทำวีเนียร์ หรือครอบฟัน
ซึ่งสามารถเลือกเฉดของสีฟันที่แน่นอน
4.การซื้อผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันมาใช้เอง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ และสารฟอกสีฟันจำนวนมากออกจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด
มีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบเป็นน้ำยา เจล ผสมเข้ามากับยาสีฟัน
หรือเป็นแผ่นแปะลงไปที่ตัวฟัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบมาให้มีความสะดวกในการใช้งาน
แต่เนื่องจากไม่ได้อยู่ในการดูแลของทันตแพทย์
ทำให้ อาจเป็นอันตรายต่อฟันและ
เนื้อเยื้อภายในช่องปากได้ หากใช้อย่างไม่เหมาะสม
อีกทั้งน้ำยา โดยมากมักไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ผ่านการรับรองจาก หน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง
อาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตราย หรือโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
จึงควรพิจารณาตรวจสอบว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในข้อนี้ด้วย
หากไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะเป็นต่อฟันแล้ว
เนื่องจากสารต่างๆจะเข้าสู่ช่องปากและอวัยวะภายในโดยตรง
อาจเป็นอันตรายทันที หรือ สารพิษสะสมในร่างกาย